วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

[ข่าวประชาสัมพันธ์] การเปลี่ยนแปลงรหัสประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ขายนิติบุคคลในระบบ GFMIS

     
               ในวันที่  29  พฤษภาคม 2555  กรมบัญชีกลางแจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขายประเภทนิติบุคคลในระบบ GFMIS ในส่วนของเลขประจำตัวผู้เสียภาษี   หรือคำค้นหา จากเดิม 10 หลัก เป็น 13 หลัก ตามที่กรมสรรพากรออกให้  ภายใต้รหัสผู้ขายเดิม 

ตัวอย่าง  
บริษัท ออฟฟิเชียล อีควิปเม้นท์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด   
  -  เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เดิม
10 หลัก  คือ  3030307361 
 
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เดิม13 หลัก ใหม่ ป็น  0105544059011
  -  รหัสผู้ขาย จากระบบ GFMIS คื1000008984

วิธีปฏิบัติเมื่อเลขที่ประจำตัวผู้เสียภาษี ยังเป็น 10 หลัก
1.  ทำเรื่องเปลี่ยนแปลงข้อมูลหลักผู้ขาย จากเดิม 10 หลัก เป็น 13 หลัก
2.  รวบรวมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น สำเนาใบรับรองการจดทะเบียนการค้า , สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี , ใบ ภพ. 20 , สำเนาบัตรประจำตัวของเจ้าของ หรือ ผู้มีอำนาจ เป็นต้น  โดยเซ็นต์สำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งประทับตราของกิจการ
3.  ส่งเอกสารพร้อมคำร้องให้ทางสำนักงานคลังจังหวัด หรือกรมบัญชีกลาง เพื่อได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้ถูกต้องต่อไป


การบล็อกข้อมูลหลักผู้ขาย
             รมบัญชีกลางได้ประกาศบล็อกข้อมูลหลักผู้ขาย เนื่องจาก มีการสร้างข้อมูลหลักผู้ขายซ้ำซ้อน มีผลทำให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณกิดความผิดพลาดได้
          
ตัวอย่าง 
บริษัท ดำรงศักดิ์บริการ จำกัด 
-  เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 10 หลัก คือ  
3101326390   

-  รหัสผู้ขายในระบบ GFMIS คือ 1000067185

              แต่เนื่องด้วย บริษัท ดำรงศักดิ์บริการ จำกัด ยังไม่ถูกเปลี่ยนเลขประจำตัวผู้เสียภาษใหม่ จาก 10 หลัก เป็น 13 หลัก จึงมีหน่วยงานส่งเรื่อง สร้างข้อมูลหลักผู้ขาย ของ บริษัท ดำรงศักดิ์บริการ จำกัด ใหม่ โดยใช้ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก จึงเป็น 
บริษัท ดำรงศักดิ์บริการ จำกัด 
-  เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 10 หลัก คือ  
0105528000652  

-  รหัสผู้ขายในระบบ GFMIS คือ 1000102241

 
        จะเห็นว่า มีรหัสผู้ชายในระบบ GFMIS ถึง 2 ข้อมูล ด้วยกัน คือ 1000067185 และ 1000102241 ต่างก็เป็น ของ บริษัท ดำรงศักดิ์บริการ จำกัด ทั้งสิ้น
        กรมบัญชีกลางจึงแก้ไขโดย บล็อคข้อมูลที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ คือ ข้อมูลที่สร้างจาก เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก พร้อมกับเปลี่ยน เลขผู้เสียภาษี 10 หลัก เป็น 13 หลัก 
        
แนวปฏิบัติเมื่อทำเรื่องเบิกจ่ายให้กับผู้ขายที่ถูกบล็อก
1. ในกรณีที่มีการ กันเงินเหลื่อมจ่ายข้ามปีห้ทำการ สลายใบ PO เดิม แล้วเปลี่ยนเลขข้อมูลผู้ขายใหม่
2. ในกรณีที่เป็นยอดคงค้าง ให้ทำการยกเลิกใบ PO เดิม แลสร้างใบ PO ใหม่
          

ที่มา :   1.  หนังสือกรมบัญชีกลาง
          2.  เว็บ gfmisreport.mygfmis.com

รายละเอียด

วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

[e-GP] การเพิ่มแผนการจัดซื้อ/จัดจ้าง บนระบบ e-GP


การทำจัดทำแผนจัดซื้อ/จัดจ้าง
       เพื่อให้การบริหารงบประมาณและการตรวจสอบการบริหารงบประมาณ เป็นไปตามความเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ และ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ/จัดจ้าง อันเป็นการเสริมสร้างประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ตามวัตถุประสงค์ของมาตรฐานการควบคุมภายในที่คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดินกำหนด
      การจัดทำแผนการจัดซิ้อ/จัดจ้าง ในอดีตจะทำในเอกสารเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ผลที่เกิดขึ้นคือ อาจมีการตกหล่น มีผลทำให้การจัดซื้อ/จัดจ้าง เกิดความล่าช้า ไปจนถึง การยกเลิกการจัดซื้อ/จัดจ้าง ดังกล่าว ได้
ในระบบ e-GP ระยะ 2 ถูกออกแบบระบบให้รองรับกับการจัดทำแผนการจัดซื้อ/จัดจ้างด้วย ทำให้สะดวกต่อการตรวจสอบจากหลายๆฝ่าย ในการจัดทำแผนจัดซื้อ/จัดจ้างในระบบ e-GP ระยะ 2  มีวิธีการดังนี้
1.  เข้าไปที่ website  http://www.gprocurement.go.th
2.  เข้าสู่ระบบ โดยกรอก รหัสผู้ใช้ และ รหัสผ่าน (กรณีที่ยังไม่มี กรุณาติดต่อที่งานพัสดุ 1)


3. เมื่อเข้าสู่ระบบ จะปรากฏหน้าต่าง ขึ้นมา ให้เลือกไปที่ จัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้าง รายปีงบประมาณ


4.  จากนั้น เลือก เพิ่มแผนการจัดซื้อจัดจ้าง

5.  จะปรากฏหน้าต่าง ข้อมูลแผนการจัดซื้อจัดจ้างโดยมีรายละเอียดดังนี้
 
คำอธิบาย
5.1  ปีงบประมาณ : สำหรับใส่ปีงบประมาณที่จัดซื้อ/จัดจ้าง เช่น 2556 , 2557 , 2558 เป็นต้น  ในกรณีที่เป็นงบผูกพันข้ามปีให้ใส่ ปีเริ่มต้นไป เช่น  เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร โดยใช้งบประมาณ ปี 2556 , 2557 , 2558  ให้ใส่ปี 2556 แทน  เป็นต้น
5.2 วิธีการจัดหา : วิธีการจัดหามีทั้งสิ้น 12 วิธี ซึ่งคลอบคลุมทุกวิธี
5.3 ประเภทการจัดหา : ประเภทของการจัดหา มี  ซื้อ/จ้างก่อสร้าง/จ้างเหมาบริการ/เช่า  ในกรณีที่เป็นการก่อสร้างปรับปรุง เช่น ปรับปรุงระบบไฟฟ้า , ปรับปรุงสายสัญญาณ ให้เลือกที่จ้างก่อสร้าง
5.4 ประเภทของวัสดุ : ครุภัณฑ์ที่ต้องการหา ในกรณีที่ การจัดซื้อ/จัดจ้างนั้น มีวัสดุครุภัณฑ์หลายชนิด ให้ยึดตามจำนวนรายการที่เราสั่งซื้อมากที่สุด
5.5 ชื่อโครงการ : สำหรับใส่ชื่อโครงการ ตัวอย่าง เช่น  ต้องการซื้อครุภัณฑ์ สำนักงาน จำนวน 2 รายการ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์  ก็เขียนเป็น (สอบราคาซื้อ)ครุภัณฑ์สำนักงาน จำนวน ๒ รายการ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์
หมายเหตุ คำว่าสอบราคาซื้อในระบบจะใส่ให้เองตาม (5.2) และ (5.3)
5.6 แหล่งเงิน : เงินงบประมาณ คือ เงินงบประมาณแผ่นดิน และ เงินนอกงบประมาณ คือ เงินรายได้
5.7 เดือนที่ต้องการประกาศจัดซื้อ/จัดจ้าง, เดือนที่ต้องการทำสัญญา : ในที่นี้ให้ใส่เป็นตัวเลข ตัวอย่างเช่น ครุภัณฑ์ชิ้นนี้ต้องการซื้อเดือน กุมภาพันธ์ 2556  ก็ให้ใส่ 022556 แล้วระบบจะเปลี่ยนเป็น 02/2556 อัตโนมัติ



ตัวอย่าง
                กองคลังต้องการซื้อครุภัณฑ์ สำนักงาน จำนวน 12 รายการ เป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท โดยใช้เงินงบประมาณรายได้ ประจำปี 2556 โดยต้องทำสัญญาภายในเดือน พฤศจิกายน 2555
1. กรอกข้อมูล ปีงบประมาณ จากนั้นเลือก สอบราคาในหัวข้อ วิธีการจัดหา

2. ประเภทการจัดหาให้เลือกแบบ ซื้อ


3.  พัสดุที่จัดหาเลือก วัสดุครุภัณฑ์สำนักงาน


4. เขียนในชื่อโครงการ โดยคำว่า สอบราคาซื้อจะอยู่หน้าประโยคที่เราทำการสร้างไว้อัตโนมัติอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องพิมพ์เข้าไปอีก


5. แหล่งของเงิน-เงินงบประมาณ ถ้าเราใช้ เงินงบประมาณแผ่นดิน โดยตัวเลือกประเภทเงิน เลือกหน่วยงาน,กรม


6. ในกรณีที่เป็นเราใช้ เงินงบประมาณรายได้ ให้ใส่ตัวเลขลงไป แหล่งของเงิน-เงินนอกงบประมาณ และเลือกประเภทของเงินเป็น รายได้ของหน่วยงาน


7. เดือนที่ต้องการให้ประกาศ เรากำหนดให้เป็นเดือน ตุลาคม 2555  พิมพ์ 102555 ระบบจะทำการเปลี่ยนเป็น10/2555 ให้อัตโนมัติ


8. เดือนที่ต้องการทำสัญญา ในที่นี้เรากำหนดให้เป็นเดือน พฤศจิกายน 2555 ให้ใส่ 112555 ระบบจะทำการเปลี่ยนเป็น11/2555 ให้อัตโนมัติ


9. จากนั้นกด บันทึก ระบบจะถามเราอีกครั้งให้กดที่ OK เพื่อยืนยันการจัดเก็บข้อมูล


10. เมื่อบันทึกเรียบร้อยแล้ว ระบบจะให้ขึ้นหน้าเปล่าๆ ถ้าเราต้องการดูแผนที่เราทำไว้ให้กดปุ่มกลับสู่หน้าหลัก


11. เมื่อเราดูแผน เราควรจดรหัสแผนไว้ด้วย เพื่อความรวดเร็วในการค้นหา