วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กรณียกเว้นสำหรับการซื้อ/จ้าง/เช่า ของ ระบบ e-GP และ เอกสารที่แนบเพิ่มเติมในต้องนำข้อมูลเข้าระบบ GFMIS

แนวทางการบันทึกรายการใน ระบบ e-GP

และเอกสารที่แนบเพิ่มเติมกรณีต้องนำข้อมูลเข้าระบบ GFMIS

กรณียกเว้น
    ระบบ e-GP ระยะ 2 หน่วยงาน ต้องบันทึกข้อมูลลงในระบบ e-GP (http://www.gprocurement.go.th)


 โดยต้องบันทึกทั้งเงินงบประมาณรายได้ และเงินงบประมาณแผ่นดิน ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้


1. ยอดเงินในการสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า  ต่ำกว่า 5000 บาท
2. จ่ายเงินสด
3. จัดจ้างเหมาบริการจากบุคคลธรรมดา (ร้าน , ห้างหุ้นส่วนสามัญ , บุคคลธรรมดา)
เช่น   ล้างแอร์ กับ ร้าน , จ้าง นาย ก  ตกแต่งสวน  ,  จ้าง หสม.กอไก่ เดินระบบไฟในห้องน้ำ  เป็นต้น


-  การเบิกจ่ายค่าน้ำมัน


เช่น   ล้างแอร์ กับ ร้าน , จ้าง นาย ก  ตกแต่งสวน  ,  จ้าง หสม.กอไก่ เดินระบบไฟในห้องน้ำ  เป็นต้น

หมายเหตุ หนังสือจากกรมบัญชีกลาง เลขที่ 0421.4/ว 82 ลว 28 กุมภาพันธ์ 2556

วิธีการสลาย PO ของระบบ GFMIS โดยการใช้เครื่อง Terminal

วิธีการสลาย ใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (PO) โดยการใช้เครื่อง Terminal
                เมื่อส่วนราชการมีการสร้าง ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง (PO) ในระบบ GFMIS แล้ว ใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง นั้นเบิกเงินไม่ทันตามกำหนด ก็จะต้องทำใบกันเงินในระบบ เพื่อนำไปจ่ายในปีงบประมาณถัดไป
ถ้าในกรณีที่ส่วนราชการต้องการแก้ไขข้อมูลในใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างที่ยกยอดไปเบิกในปีงบประมาณใหม่  กรมบัญชีกลางไม่อนุญาตให้ส่วนราชการทำการแก้ไขข้อมูลรายการในใบสั่งซื้อ/สั่งจ้าง ที่มีการยกยอดไปในปีงบประมาณใหม่แล้ว หากส่วนราชการจะแก้ไขข้อมูลดังกล่าว ต้องทำการยกเลิกใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างเดิม และสร้างหรือไม่สร้างเอกสารสำรองเงินใหม่ แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ส่วนราชการต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบการแก้ไขและเก็บหลักฐานไว้ให้ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบได้
การยกเลิกใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างที่มีการยกยอดมาจากปีงบประมาณที่ผ่านมา สามารถทำได้ ดังนี้
-  เข้าหน้าจอ SAP Easy Access ระบบ SAP R/3 
 1. ส่วนเพิ่มเติม   
 2. ส่วนเพิ่มเติมระบบ – จัดซื้อจัดจ้าง 
ƒ 3. กระบวนงานสลาย PO เงินกันเหลื่อมปี  
 4. หรือพิมพ์ ZMM_POCL_PF  ในช่องใส่คำสั่ง  เพื่อเข้าสู่โปรแกรม





-  จะปรากฏหน้าจอ  โปรแกรมการสลาย PO ดังรูป โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.  ปีบัญชี     :   ระบุปีงบประมาณ ปัจจุบัน ที่จะยกเลิกใบสั่งซื้อ/สั่งจ้างที่ถูกยกยอดมา
2.  เลขที่ใบสั่งซื้อ   เลขที่ใบสั่งซื้อที่ออกโดยระบบ GFMIS
3.  ประเภทเอกสารใบกันเงิน  :  ระบบแสดงค่า PF  (แก้ไขไม่ได้)
4.   เงื่อนไขการทำงาน   :   สลาย PO สร้างใบกันเงิน  กับ สลาย PO โดยไม่สร้างใบกันเงิน  (แก้ไขไม่ได้)
5.  ทดสอบการทำงาน  :   ถ้ามีเครื่องหมายถูก เมื่อเราทำการประมวลผล โปรแกรมจะทดสอบโดยการออกใบมาให้ดูก่อน  แต่ถ้า เราเอาเครื่องหมายถูกออก แล้วประมวลผล โปรแกรมจะสลาย PO ทันที
6.   ประมวลผล    คำสั่งสำหรับประมวลผลข้อมูลที่เรากรอกเข้าไป




ในกรณีที่สั่งประมวลผลโดยมีเครื่องหมายถูกตรงทดสอบการทำงาน 
โปรแกรมจะแสดงรายการ PO ที่สลาย และ เอกสารกันเงินใหม่ ขึ้นมาแทน




ในกรณีที่สั่งประมวลผลโดยไม่มีเครื่องหมายถูกตรงทดสอบการทำงาน
เมื่อเราทำการสลาย PO แล้ว จะปรากฏข้อความดังรูป  ให้เรานำ เลขที่เอกสารสำรองเงินที่ระบบออกให้ใส่ใน ใบสั่งซื้อสั่งจ้างในระบบ GFMIS แล้วนำไปสร้างข้อมูลในระบบใหม่ เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
หมายเหตุ  ถ้าเราสั่งประมวลผลโดย โดยไม่ใช้ระบบทดสอบการทำงาน จะปรากฎ ข้อความด้านล่าง



เมื่อเราได้เลขของเอกสารสำรองเงินมาแล้ว ให้ทำการพิมพ์ไว้ เนื่องจากต้องนำเอกสารใบนี้เป็นหลักฐานในการเบิกเงินต่อไป
                หลังจากที่ทำการสลายใบ PO แล้ว ให้ทำการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง  เมื่อแก้ไขเสร็จ ให้นำเลขของเอกสารสำรองเงินมาใส่ใน ใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า ของระบบ GFMIS (ดังรูป) จากนั้นก็นำไปเข้าระบบ GFMIS ตามกระบวนการตามปกติ


การใส่เลขที่ใบสำรองเงินในใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า (เก่า)


 การใส่เลขที่ใบสำรองเงินในใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า (ใหม่)


การใส่เลขที่ใบสำรองเงินในใบสั่งซื้อ/จ้าง/เช่า ในระบบ GFMIS

****เมื่อเราทำการสลาย PO แล้วทำการสร้าง PO ในระบบ GFMIS ให้แก้ "วันที่ใบสั่งซื้อ/สัญญา" เป็นวันที่ 1 ตุลาคม ด้วย














วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การกรอกรหัสงบประมาณ ในระบบ e-GP (ตอนที่ 2 ขั้นตอนเมื่อจะทำการสร้างใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง)



 คำชี้แจง
                 การกรอกรหัสงบประมาณลงในระบบ e-GP นั้น สามารถทำได้ใน 3 ช่วง ถ้าท่านได้ทำในขั้นตอนการเพิ่มโครงการแล้ว (ตอนที่ 1) ไม่จำเป็นต้องทำให้ตอนที่ 2 (ตอนนี้) และ ตอนที่ 3 อีก
การกรอกรหัสงบประมาณ กับ รหัสแหล่งของเงินในขั้นตอนการจัดทำร่างสัญญา
                ในกรณีที่มีการสร้างโครงการแล้ว แต่ยังไม่จัดทำร่างสัญญา เราสามารถกรอกเพิ่มข้อมูลรหัสงบประมาณ และ รหัสแหล่งของเงินจากที่นี่ได้ เช่นกัน
ขั้นตอนการกรอกข้อมูลรหัสงบประมาณ และ รหัสแหล่งของเงิน ในขั้นตอนการทำร่างสัญญา
1. ให้เลือกที่ลูกบอล 5. จัดทำร่างสัญญา


2. ให้คลิ๊กเลือกที่ข้อมูลงบประมาณโครงการ

3. คลิ๊กเลือกที่ ข้อมูลงบประมาณ
 




4.  เมื่อเข้ามา สิ่งที่เราต้องกรอก คือ รหัสงบประมาณ รหัสแหล่งของเงิน และ จำนวนเงินตามลำดับ ตอนนี้ยังไม่สามารถกรอกข้อมูลใดๆได้ ให้กดไปที่แว่นขยายที่ ช่องรหัสงบประมาณ


5.  เมื่อเข้ามาจะมีช่องรหัสเลขงบประมาณ และ รหัสแหล่งของเงิน ให้กรอก  เลขที่จะกรอกคือ เลขที่ใช้ในการส่งในระบบ GFMIS


6.  จากตัวอย่างในภาพ
รหัสงบประมาณ :  ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
รหัสแหล่งของเงิน : ค่าวัสดุ
เมื่อกรอกรหัสครบถ้วน ให้กดที่ค้นหา


7. เมื่อกดที่งบประมาณแล้วจะกลับมาในส่วนที่ให้กรอกรหัสงบประมาณ จะเห็นว่า รหัสงบประมาณ กับแหล่งของเงิน จะขึ้นมาให้  ให้ใส่จำนวนเงินในช่อง จากนั้นกดบันทึกเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนปกติ